ด้านการเกษตรนั้นส่วนใหญ่ก็เพื่อดำรงชีวิตและแพร่พันธุ์ต่อ ไป หากบ้านใดมีหนูย่อมมีความเสียหายจากการทำลายของ หนู ติดตามมา นอกจากผลเสียหายที่เกิดจากการกัดทำลายของ หนู ทำให้เสียหายด้านการเกษตรและเศรษฐกิจแล้ว ประกอบกับพฤติกรรมในการดำรงชีวิตของมันทำให้มันเป็นตัวการสำคัญที่นำโรค ต่างๆ มาสู่คนได้ ดังนั้น จะศึกษาเรื่อง หนู ที่มีความสำคัญโดยเฉพาะในทางสาธารณสุขและการเกษตรเท่านั้น หนูที่มี ความสำคัญทางด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะหนูที่อาศัยทำรังและหากินอยู่ในบ้านหรือบริเวณรอบๆ บ้าน ซึ่งสามารถพบเห็นได้ มี 4 ชนิด ซึ่งน่าจะศึกษาเรื่องราวของแต่ละชนิด เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมและป้องกันต่อไปนี้
หนูนอร์ เวย์ (Rattus norvegicus)
บางที่เรียกหนูขยะ หนูท่อ หนูสีน้ำตาล หนูชนิดนี้เป็นหนูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูล มีน้ำหนักตัว 300 – 350 กรัม บางตัวอาจมีน้ำหนักถึง 400 กรับ ขนาดลำตัวและหัวยาวประมาณ 180 – 250 มม. หางยาวประมาณ 150 – 220 มม. ตีนหลังยาวประมาณ 35 – 40 มม. หูยาวประมาณ 17 – 23 มม.
ลักษณะรูปร่าง : ลักษณะขนหยาบมีสีน้ำตาลปนเทา ห้องสีเทา ส่วนจมูกทู่ ใบหูเล็ก ตาเล็ก หางสั้นมี 2 สี ด้านบนสีดำ ด้านล่างสีจาง มีเกล็ดหยาบๆ ที่หาง และด้านบนของตีนหลังมีสีขาว มีเต้านมรวม 6 คู่ อยู่ที่อก 3 คู่ ท้อง 3 คู่
ถิ่นที่อยู่อาศัย : มักอยู่ตามรู ตามท่อระบายน้ำโสโครก ท่อน้ำ ใต้ถุนตึกหรือบ้านเรือน บริเวณลำคลอง กองขยะมูลฝอย ไม่ชอบขึ้นที่สูง กินอาหารบูดเน่า พวกแป้ง ผัก เนื้อ และปลา
การแพร่พันธุ์ : ออกลูกปีละ 4 – 7 ครอก ลูกหนึ่งครอกมีจำนวน 8 –12 ตัว ระยะทางการหากิน 100 – 150 ฟุต
ลักษณะมูล : มีขนาดใหญ่คล้ายแคปซูลยาวประมาณ 3-4 นิ้ว
หนูท้องขาว (Rattus rattus)
บางครั้งเรียก หนู หลังคา (roof rat) เป็นหนูตระกูล Rattus ที่มีขนาดใหญ่ปานกลางรูปร่างเพรียว มีน้ำหนักตัว 90-250 กรัม บางตัวอาจมีน้ำหนัก 360 กรัม ขนาดลำตัวและหัวยาวประมาณ 182 มม. หางยาวประมาณ 188 มม. ตีนหลังยาวประมาณ 33 มม. ความยาวใบหูประมาณ 23 มม. มีเต้านมรวม 5-6 คู่ อยู่ที่อก 2 คู่ที่ท้อง 3 คู่
ลักษณะรูปร่าง : ขนด้านหลังมีสีน้ำตาล (ฐานขนสีเทาปลายสีน้ำตาล) ไม่มีขนคล้ายหนาม (spine) ขนส่วนท้องมีสีขาวปนเทาหรือเหลืองครีม จมูกแหลม ตาโปน มีขนาดหูใหญ่ หางมีสีดำและมีเกล็ดละเอียดตลอดหาง ความยาวของหางมากกว่าความยาวของลำตัว
ถิ่นที่อยู่อาศัย : ชอบอาศัยอยู่ตามอาคารบ้านเรือน หลังคาบ้าน บริเวณกันสาดใต้หลังคา ถ้าบริเวณรอบบ้านมีต้นไม้ แผ่กิ่งก้านสาขาอยู่ใกล้เคียงอาจพบหนูท้องขาวและรังอยู่บนต้นไม้นั้นด้วย มีความสามารถในการปีนป่ายเก่งกินอาหารทุกชนิด อาหารที่ชอบมากคือ เมล็ดพืช เช่น ข้าวเปลือก ถั่วข้าวโพด
การแพร่พันธุ์ : ออกลูกปีละ 4-6 ครอก ลูกหนึ่งครอกมีจำนวน 6-8 ตัว ระยะทางหากิน 100-150 ฟุต
ลักษณะมูล : เป็นรูปกระสวย ปลายแหลม ขนาดความยาวไม่เกิน1-2 นิ้ว
หนูจี๊ด (Rattus exulans)
เป็นตระกูลของ Rattus ที่มีขนาดเล็ก แต่ตัวโตกว่าหนูหริ่ง น้ำหนักตัวประมาณ 36 กรัม ขนาดลำตัวและหัวยาวประมาณ 115 มม. หางยาวประมาณ 128 มม. ตีนหลังยาวประมาณ 23 มม. ความยาวหูประมาณ 16 มม. มีเต้านมรวม 4 คู่ อยู่ที่หน้าอก 2 คู่ ที่ท้อง 2 คู่
ลักษณะรูปร่าง : รูปร่างเพรียว จมูกแหลม ตาโต หูใหญ่ ขนด้านหลังสีน้ำตาลมีลักษณะอ่อนนุ่ม มีขนแข็ง (spine) ขึ้นแซมบ้างเล็กน้อย ขนด้านท้องสีเทา ผิวหางเรียบไม่มีเกล็ดมีสีดำตลอด
ถิ่นที่อยู่อาศัย : ตามบ้านเรือน ชอบที่สูงตามซอกมุมที่ลับตาอาคาร บนเพดาน และมีความสามารถในการปีนป่ายเก่งเหมือนหนูท้องขาว
การแพร่พันธุ์ : ตัวเมียออกลูกครั้งละ 8 – 12 ตัว ระยะทางหากิน 20 – 50 ฟุต เวลาออกหากินกลางคืนจะส่งเสียงร้องจี๊ดๆ ให้ได้ยิน
หนูหริ่ง (Mus musculus)
หรือบางครั้งเรียกว่า house mouse เป็นหนูในตระกูล Mus ชนิดที่พบเห็นตามบ้านเรือนมาก เป็นหนูบ้านที่มีขนาดเล็กที่สุด มีน้ำหนักตัวเพียง 10 – 15 กรัม ขนาดลำตัวและหัวยาวประมาณ 74 มม. หางยาวประมาณ 79 มม. ตีนหลังยาวประมาณ 16 มม. ใบหูยาวประมาณ 12มม. มีเต้านมรวม 5 คู่ อยู่ที่อก 3 คู่ และที่ท้อง 2 คู่
ลักษณะรูปร่าง : จมูกแหลม ขนด้านหลังสีเทาบางทีมีสีน้ำตาลปน มีลักษณะอ่อนนุ่ม ขนด้านท้องสีขาว ส่วนหางมี 2 สีด้านบนสีดำ ส่วนด้านล่างสีจางกว่า
ถิ่น ที่อยู่อาศัย ตามบ้านเรือน มักชอบหลบซ่อนตัวอยู่ตามตู้ โต๊ะ ที่เก็บของ ตามช่อง ฝาผนัง ตามครัว กินอาหารได้ทุกชนิด แต่ชอบพวกเมล็ดพืช
การแพร่พันธุ์ : ออกลูกปีละประมาณ 8 ครอก ลูกหนึ่งครอกมีจำนวน 5 – 6 ตัว
ระยะทางการหากิน 10 – 30 ฟุต
ลักษณะมูล : ขนาดเล็กกลมยาวปลายแหลมยาวประมาณ 1/8 นิ้ว
ชีววิทยาและพฤติกรรมของหนู
1. การสืบพันธุ์และการเจริญ เติบโตหนู
เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความสามารถในการผสมพันธุ์ และแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมาก จากการศึกษาสำรวจพบว่า พวกหนูนอร์เวย์ และหนูท้องขาวสามารถมีลูกได้ครั้งแรกอายุประมาณ 3 – 5 เดือน เมื่อผสมแล้วจะตั้งท้องเพียง 21 – 22 วัน สำหรับหนูมีลูกติดๆ กันไม่หยุดในท้องหลังๆ อาจตั้งท้องนาน 23 – 29 วัน ส่วนในหนูหริ่งนั้น หลังผสมพันธุ์อาจตั้งท้องประมาณ 19 วัน ภายใน 48 ชั่วโมง หลังคลอด ความยืนยาวของชีวิตหนูแต่ละชนิดไม่เท่ากัน แต่ไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น หนูท้องขาวอาจจะมีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 2ปี
2. พฤติกรรมของหนู
การ เป็นอยู่ทั่วๆ ไป หนูมีความสามารถในการเรียนรู้ คุ้นเคยและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมได้ดี การเป็นอยู่ในรังจะมีหัวหน้า ทำหน้าที่ออกสำรวจหาอาหาร หนูตัวเมียถ้ามีลูกโตพอสมควรมันจะพาลูก ๆ ออกไปหากินพร้อมๆ กัน และสอนให้ลูกๆ รู้จักหาอาหารโดยปลอดภัย ลูกหนูเมื่ออายุประมาณ 3 เดือน แล้วมักแยกตัวมาอยู่อิสระในช่วงนี้หนูจะมีความรวดเร็วว่องไวในการเคลื่อนไหว และหากินมาก
3. การมีปฏิกิริยาต่อสิ่งที่แปลกๆ
หนู มีความฉลาดเฉลียวในการสังเกตระมัดระวังต่อสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่คุ้นเคยต่างๆ รวมทั้งแสง เสียง อาหาร สภาวะแวดล้อมต่างๆ ดังนั้นการวางยาเบื่อหรือใช้เหยื่อล่อใส่ในกรงหนูจึงต้องระมัดระวังให้มี ความพอเหมาะ เช่น การผสมยาเบื่อหนู ถ้าผสมข้นเกินไป กลิ่นแรงผิดสังเกตหนูจะไม่ยอมกินเหยื่อนั้น ต้องวางเหยื่อนั้นหลายๆ วัน จนหนูคุ้นเคยจึงผสมยาเบื่อให้หนูกิน หรือนำไปเป็นเหยื่อสำหรับล่อให้หนูมากิน
4. การว่ายน้ำ
หนู สามารถว่ายน้ำได้เก่งและสามารถดำน้ำได้นานถึง 2 นาที จึงทำให้มันมีความคล่องตัวในการออกหากินและหนีศัตรู หนูสามารถเข้าไปในอาคารได้ตามรางระบายน้ำหรืออาศัยอยู่ในท่อน้ำทิ้งที่ใหญ่ๆ ได้
5. การกระโดด
หนูมีความสามารถในการกระโดดดี มาก ไม่ว่าจะเป็นการกระโดดในแนวพื้นราบ ขึ้นสูงหรือลงข้างล่าง เช่น พวกหนูท้องขาว สามารถกระโดดจากระดับพื้นดินได้สูง 18 – 24 นิ้ว และถ้ามีทางวิ่งมันสามารถกระโดดได้สูงถึง 3 ฟุต ถ้ากระโดดในแนวราบมันไปได้ไกลถึง 8 ฟุต และถ้ากระโดดในแนวดิ่งมันสามารถกระโดดลงมาจากที่สูงถึง 15 ฟุตได้ โดยปลอดภัยทำให้มันมีความรวดเร็วว่องไวในการหลบหนีศัตรูได้ดีมาก
ชีววิทยาและพฤติกรรมของหนู
6. การปีนป่าย
หนู ท้องขาว หนูหริ่ง หนูจี๊ด สามารถไต่ปีนป่ายท่อน้ำ ผนังฝาบ้าน ขอบริมหน้าต่าง ช่องลม ตู้กับข้าวได้ดี ทำให้สามารถขึ้นไปทำรังในที่สูงได้ แม้ผนังนั้นจะสูงชันก็สามารถปีนป่ายได้ดีและรวดเร็ว ส่วนหนูนอร์เวย์นั้นถึงแม้ไม่ชอบปีนป่าย แต่ถ้าจำเป็นมันก็สามารถปีนป่ายได้
7. การขุดโพรงรู
หนู บ้านทุกชนิดสามารถขุดรูหรือโพรงได้ เช่น พวก หนู นอร์เวย์สามารถขุดโพรงได้เก่ง ความยาวของโพรงที่ขุดประมาณ 3 ฟุต ความลึกของโพรงตามแนวดิ่งประมาณ 1 ฟุต ส่วนหนูท้องขาวและหนูหริ่งนั้นเก่งในทางปีนป่ายชอบทำรังเหนือพื้นดินบนบ้าน แต่ถ้าหากภายในบ้านไม่มีที่เหมาะสมสำหรับทำรัง และบริเวณพื้นดินรอบๆ บ้านหรือใต้ถุนบ้านไม่มีหนูนอร์เวย์ มันอาจจะขุดรูอยู่ก็ได้ และหนูหริ่งก็เช่นกัน ถ้ามันมีความจำเป็นและบริเวณนั้นๆ ไม่มีหนูที่ใหญ่กว่าอยู่มันจึงจะขุดรูและทำรังอยู่อาศัย
8. รังและที่พักอาศัยของหนู
หนู ชนิดที่อาศัยอยู่ภายในบ้าน มักจะสร้างรังในที่ซึ่งปลอดภัยและอยู่ใกล้ๆ กับแหล่งที่มีน้ำและอาหาร เป็นที่ซึ่งลับหูลับตา เงียบสงบและปราศจากการถูกรบกวน โดยปกติถ้าทำรังในบ้าน มักจะใช้วัสดุอ่อนๆ เช่น เศษกระดาษ เศษผ้า มาทำเป็นรังบางครั้งถ้าอากาศหนาวและมีลูกอ่อนมันจะสร้างหลังคาคลุมรังด้วย หนูบ้านบางชนิดเช่นหนูนอร์เวย์จะทำรังตามบริเวณบ้านด้วย โดยขุดรูตามใต้อาคาร หรือบ้านที่มันอาศัย จึงไม่ควรทิ้งของรกรุงรัง เศษกระดาษหรือเศษผ้าตามบริเวณรอบบ้านเพราะหนูจะนำไปสร้างรังที่อยู่อาศัยได้
9. นิสัยการกินอาหาร
หนู สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด หนูมีช่วงเวลาออกหากินแตกต่างกันในแต่ละชนิด แต่เมื่อพบอาหารแล้วมักจะพยายามคาบไปซ่อนไว้ ถ้าอาหารเป็นชิ้นใหญ่มันจะใช้เวลาคาบหรือชักลากไป แต่ถ้าชิ้นอาหารเล็กมากมันจะกินตรงบริเวณนั้นไม่นำกลับ การกินอาหารใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคยมักเป็นในลักษณะชิม เพื่อทดสอบว่าอาหารนั้นเป็นพิษสำหรับมันหรือไม่
10. การแทะ
เป็น ธรรมชาติอย่างหนึ่งของหนูที่ฟันคู่หน้าของมันมีลักษณะ แข็งพอเหมาะและสามารถงอกยื่นยาวออกไปได้เรื่อยๆ ตลอดชีวิต ประมาณปีละ 5 นิ้ว ดังนั้นหนูจึงมีความจำเป็นต้องกัดแทะอยู่เสมอ เพื่อลับฟันให้คมและมีขนาดสั้นพอเหมาะ โดยทั่วไปหนูจะเริ่มแทะเป็นตั้งแต่มีอายุได้ประมาณ 2 สัปดาห์
ชีววิทยาและพฤติกรรมของหนู
11. ประสาทความรู้สึก
หนูทุกชนิดมีประสาทความรู้สึกไวมาก ทำให้ยากต่อการควบคุมกำจัดให้ได้ผล
12. การสัมผัส
หนู มีเครา และขน ซึ่งมีความยาวกว่าขนธรรมดาและขึ้นกระจายอยู่ทั่วๆ ไปเป็นประสาทสัมผัสที่ดีมาก โดยในเวลากลางคืนที่มันวิ่งออกหากิน มันจะวิ่งไปตามทางข้างๆ ผนัง โดยมีเคราและขนดังกล่าว จะสัมผัสกับผนังห้อง
13. การมีปฏิกิริยาต่อสิ่งที่แปลกๆ
หนู มีความฉลาดเฉลียวในการสังเกตระมัดระวังต่อสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่คุ้นเคยต่างๆ รวมทั้งแสง เสียง อาหาร สภาวะแวดล้อมต่างๆ ดังนั้นการวางยาเบื่อหรือใช้เหยื่อล่อใส่ในกรงหนูจึงต้องระมัดระวังให้มี ความพอเหมาะ เช่น การผสมยาเบื่อหนู ถ้าผสมข้นเกินไป กลิ่นแรงผิดสังเกตหนูจะไม่ยอมกินเหยื่อนั้น ต้องวางเหยื่อนั้นหลายๆ วัน จนหนูคุ้นเคยจึงผสมยาเบื่อให้หนูกิน หรือนำไปเป็นเหยื่อสำหรับล่อให้หนูมากิน
14. การเห็น
หนูมีระบบประสาทมองไม่ดี มองเห็นได้ไม่ไกลและตาบอดสี เห็นเฉพาะสีขาวดำ ฉะนั้นจึงมองเห็นในเวลากลางคืนดีกว่ากลางวัน
15. การรู้รส
ของ หนูไม่ดีเท่าคน ไม่สามารถแยกรสชาติอาหารได้เท่าคน แต่มีบ่อยครั้งที่หนูมีการเข็ดเหยื่อเพราะหนูมีความฉลาดและระมัดระวังตัวดี กินอาหารอะไรที่ไม่คุ้นเคยมักกินแบบชิมๆ เมื่อได้รับยาเบื่อในขนาดไม่สูงพอที่จะให้หนูตาย เมื่อยาเบื่อเข้าไปในกระเพาะจะไปทำให้หนูเจ็บและเกิดการเรียนรู้และเข็ด เหยื่อ
16. การได้ยิน
หนูได้ยินเสียงในระยะเพียงประมาณ 6 นิ้วเท่านั้น
17. การทรงตัว
หนู ทุกชนิดมีการทรงตัวดีมากมาตั้งแต่กำเนิด ถึงแม้หนูที่ปีนป่ายที่สูงจะตกหล่นลงมายังพื้นไม่ว่าในลักษณะท่าใดเมื่อหล่น ถึงพื้น เท้าทั้งสี่ของหนูจะลงพื้นก่อนเสมอทำให้หนูไม่เป็นอันตรายและในท่าที่ลงพื้น นี้ หนูก็พร้อมที่จะวิ่งได้ต่อไปทันที
ทีมงาน กำจัดปลวกภาคอีสาน กำจัดปลวกอุบลราชธานี บริษัท เฟิร์สคลาส เพส คอนโทรล จำกัด พนักงานที่มีประสบการณ์และความชำนาญ ในการดำเนินการวิเคราะห์สำรวจพื้นที่อย่างละเอียดเพื่อจะให้ทราบถึงระดับของปัญหาและจุดที่พบปัญหาของแมลงและสัตว์พาหะนำโรค ทั้งภายในและภายนอกพื้นที่เพื่อประเมินสถานะการณ์ วางแผนการปฎิบัติงานได้ถูกต้องและเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดให้กับลูกค้าได้เกิดความพึงพอใจเมื่อใช้บริการกับเรา